คำว่าซื่อสัตย์ มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ..ศ.2526 ว่า
“ซื่อตรงและจริงใจ หรือ ไม่คิดคดทรยศ หรือ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง”
ครอบครัวต้องทำอย่างไร
หน้าที่หรือความรับผิดชอบของครอบครัว ที่จะต้องร่วมกันสร้างความซื่อสัตย์ให้เกิด เป็นรูปธรรมขึ้นคือการสร้างจิตสำนึกขึ้นในตัวของบุคคลในครัวครัว โดยเริ่มที่ตนเองก่อน โดยการทำตนเป็นคนซื้อสัตย์ต้นแบบ ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องทำตนเป็นต้นแบบหรือเป็นแม่พิมพ์ แห่งความซื่อสัตย์ต่อภรรยา ต้นแบบแม่พิมพ์ของลูก ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้คนในครอบครัวต้องร่วมกันแสดงพลังแห่งการสนองตอบ บนพื้นฐานแห่งจิตสำนึกขึ้นมา
นั่นคือการแสดงออกบนวิถีแห่งความซื้อสัตย์ต่อกันในทุกกรณี จริงใจต่อพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกัน บนพื้นฐานแห่งการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ในเมื่อแต่ละครอบครัวสร้างจิตสำนึกของความซื่อสัตย์ให้เกิดขึ้นในจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว จิตสำนึกแห่งความซื่อสัตย์ย่อมต่อยอดออกไปสู่สังคมที่กว้างใหญ่ได้โดยมิต้องสงสัย เพราะจิตสำนึกนั้นได้ฝังลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในแต่ละครอบครัวแล้ว
นั่นคือการแสดงออกบนวิถีแห่งความซื้อสัตย์ต่อกันในทุกกรณี จริงใจต่อพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกัน บนพื้นฐานแห่งการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ในเมื่อแต่ละครอบครัวสร้างจิตสำนึกของความซื่อสัตย์ให้เกิดขึ้นในจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว จิตสำนึกแห่งความซื่อสัตย์ย่อมต่อยอดออกไปสู่สังคมที่กว้างใหญ่ได้โดยมิต้องสงสัย เพราะจิตสำนึกนั้นได้ฝังลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในแต่ละครอบครัวแล้ว
ความหมายของความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำใดๆทั้งที่ตนเอง กระทำหรือผู้อื่นกระทำไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ จะสำเร็จหรือไม่ เช่น ความรับผิดชอบต่องานหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ควรมีความรับผิดชอบ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัยวุฒิ และคุณวุฒิ
ความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของผู้อยู่ในวัยเรียน คือ รับผิดชอบในการเรียน การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนให้สำเร็จผลด้วยดี และการตั้งใจเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อจะได้ใช้ความรู้ความสามารถนั้นประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ต่อไป ในอนาคต ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ผู้ที่มีความรู้จะไม่เป็นปัญหาแก่สังคมและจะสามารถช่วยให้สังคมเจริญขึ้นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่ตั้งใจเรียน ไม่รับผิดชอบหน้าที่ของตนก็จะไม่มีความรู้ อาจไม่มีอาชีพตกงาน หรือจะต้องประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองด้วยความยากลำบาก คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองย่อมมีความโทมนัสใจอย่างยิ่งและตนเองอาจเป็นปัญหาของสังคมได้ เด็กๆที่อยู่ในวัยเรียนควรรับผิดชอบงานเล็กๆน้อยๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองมอบหมายให้ทำเช่น ดูแลคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย กวาดบ้าน ถูเรือน จัดโต๊ะอาหาร รดน้ำต้นไม้ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ฯลฯ การทำงานเห่านี้นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองแล้ว ยังจะช่วยให้มีโอกาสฝึกการทำงานมีโอกาสคิดหาวิธีทำงานให้สำเร็จเรียบร้อยและเกิดผลดี และยังได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย ทำให้มีสุขภาพดีด้วย การดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวทำให้มีความสุข และการให้อาหารสัตว์เลี้ยงจะทำให้เด็กมีความอิ่มเอมใจ ทำให้ชีวิตมีความสุขอันเกิดจากการทำความดีของตนความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของคนเรา คือ ความรับผิดชอบต่อ ตนเอง การดูแลตนเองไม่ให้หลงไปในทางที่ผิด ให้เป็นคนดีของสังคม ให้มีคุณธรรม
คิดดี พูดดี และทำดี ความรับผิดชอบข้อนี้ประเสริฐยิ่งนัก เพราะจะช่วยทำให้ตนเองและสังคมมีความสุข
ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ดีงาม ทุกคนควรฝึกฝนให้เกิดขึ้นในตน ถ้าเราปรารถนาความสุขไม่ต้องการพบความทุกข์ในอนาคต เราต้องเริ่มสร้างนิสัยรับผิดชอบตั้งแต่วันนี้